Home > KATO
รถเครนของ Siam industrial
KATO รถเครนที่เหมาะสำหรับทุกสภาพภูมิประเทศตั้งแต่ปี ค.ศ. 1895 โดยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน KATO ยังคงไม่หยุดพัฒนาเครื่องจักรที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการสำหรับงานอุตสาหกรรมและงานก่อสร้าง เริ่มต้นจากผลิตเครื่องยนต์ดีเซลที่ได้รับการออกแบบในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 และปัจจุบัน รถเครน KATO ได้ปฏิวัติอุตสาหกรรมเครื่องก่อสร้างด้วยรถเครนระบบไฮดรอลิกที่เหมาะกับการใช้งานในทุกสภาพภูมิประเทศ
FAQ
ทำไมต้องใช้รถเครนของ Siam industrial
นวัตกรรมแห่งอนาคต : ช่วยยืดอายุการใช้งาน
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาโมบายเครน KATO ได้รับความไว้วางใจจากทั่วโลกในฐานะผู้ผลิตที่มุ่งเน้นเทคโนโลยีซึ่งมีประสบการณ์มากมายและมีประวัติอันยาวนาน เพื่อตอกย้ำความสำเร็จแห่งศตวรรษที่ 21 โมบายเครน KATO ได้มุ่งมั่นและเพิ่มศักยภาพในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ แห่งอนาคต
โมบายเครน KATO มุ่งมั่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ที่ท้าทายขีดจำกัดของนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
ประเภทรถเครน
รถเครนมี 2 แบบ คือ
- รถเครนชนิดเคลื่อนที่ (Mobile Cranes) หมายความว่า รถเครนที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุม และเครื่องต้นกำลังอยู่ในตัว ซึ่งติดตั้งอยู่บนยานที่ขับเคลื่อนในตัวเอง
- รถเครนชนิดอยู่กับที่ (Stationary Cranes) หมายความว่า รถเครนที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องต้นกำลังอยู่ในตัว ซึ่งติดตั้งอยู่บนหอสูง ขาตั้ง หรือบนล้อเลื่อน
โมบายเครนชนิดเคลื่อนที่ ( Mobile Cranes )
- โมบายเครนตีนตะขาบ ( Crawler Crane ) คือ โมบายเครนที่มีการเคลื่อนที่ด้วยตีนตะขาบ และส่วนใหญ่มีบูมเป็นแบบบูมสาน (Lattices Boom) เหมาะสมกับการใช้ในไซด์งานที่บุกเบิกใหม่ พื้นที่ยังไม่ถูกบดอัด ติดหล่มยาก แต่ไม่แนะนำให้ใช้งานแบบวิ่งต่อเนื่องเป็นระยะทางคราวละหลายร้อยเมตร เพราะจะทำให้ชุดกลไกของล้อสึกเร็ว มีขนาดตั้งแต่ 50 ตัน ไปจนถึง 100 ตัน
- โมบายเครนล้อยาง ( All Terrain Cranes ) คือ รถบรรทุกล้อยางที่มีเครนอยู่ด้านหลังหรือด้านบน ล้อยางเคลื่อนที่ทุกล้อ สามารถวิ่งได้เร็วคล้ายรถบรรทุก ทำงานในพื้นที่ขรุขระหรือพื้นที่สมบุกสมบันได้ รโมบายเครนล้อยางนั้นจะสมบุกสมบันน้อยกว่าเครนรถแบบตีนตะขาบ มีบูมเฟรมเป็นท่อนๆ เคลื่อนที่เข้าออกภายในบูมท่อนแรก มุมเลี้ยวแคบควบคุมให้เคลื่อนที่เข้าพื้นที่กีดขวางมุมหักศอก และองศาเลี้ยวน้อยๆ ได้ดี มีขนาดตั้งแต่ 25 ตัน ขึ้นไป
- โมบายเครน4 ล้อ ( Rough Terrain Cranes ) คือ โมบายเครนที่ออกแบบเพื่อใช้งานในสภาพพื้นที่ที่ขรุขระ ขับเคลื่อน 2 ล้อ หรือ 4 ล้อ ไม่เหมาะสมกับงานระยะทางที่วิ่งไกล ทำงานในพื้นที่บุกเบิกใหม่ได้หากติดหล่ม มีชุดกว้านช่วยเหลือตัวเองได้ แต่ไม่สมบุกสมบันเหมือนเครนล้อตีนตะขาบ สามารถวิ่งข้ามอำเภอ ข้ามจังหวัดได้แต่ใช้ความเร็วได้ต่ำกว่าทรัคเครน มีขนาดตั้งแต่ 8 ตัน ขึ้นไป
- เครนติดรถบรรทุก (Truck Loader Crane) คือ รถบรรทุกที่มีเครนติดตั้งอยู่บนรถบรรทุก ใช้ยกของขึ้นตัวรถบรรทุกขนาดไม่ใหญ่มาก มีแบบพับหลัง และแบบปกติ เครนติดรถบรรทุกขนาดใหญ่ๆ สามารถยกของได้ถึง 8 ตัน ตัวรถสามารถวิ่งด้วยความเร็วได้ เลี้ยวได้มุมแคบ
รถเครนชนิดอยู่กับที่ ( Stationary Cranes )
- รถเครนหอสูงหรือปั้นจั่นหอสูง ( Tower Cranes ) พื้นฐานการเคลื่อนที่ขนย้ายของได้ 6 ทิศทาง ติดตั้งรางวิ่ง (Crane Run Way) กับโครงสร้างสูงกว่าระดับพื้น
- รถเครนราง ( Overhead Cranes )
- รถเครนขาสูง ( Gantry Cranes )
- รถเครนขาสูงแบบข้างเดียว (Semi Gantry Cranes)
- รถเครนติดผนัง ( Wall Cranes )
รถเครนและการใช้งานแต่ละประเภท
งานอุตสาหกรรมต่างๆ ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในเมืองไทย ที่กำลังมีการพัฒนาประเทศ ในกระบวนการทำงานจำเป็นต้องมี “ปั่นจั่น” หรือ “เครน” เป็นตัวช่วยทุ่นแรงในการยก และเคลื่อนที่วัสดุ สิ่งของ อุปกรณ์ที่มีน้ำหนักมาก เช่น ในงานก่อสร้าง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสะดวก คล่องตัว รวดเร็ว จึงได้มีการออกแบบ และผลิต “ปั่นจั่นแบบเคลื่อนที่” หรือ “รถเครน” หรือ “โมบายเครน” โดยติดตั้งตัวเครนบนยานพาหนะล้อยาง หรือบนตีนตะขาบ เพื่อจะสามารถขับเคลื่อนเครนไปยังจุดต่างๆ ในหน่วยงานนั้นได้ หากกล่าวถึงการเลือกใช้รถเครนและโมบายเครนไม่เพียงคำนึงถึงประเภท ขนาดของรถเครนให้เหมาะกับงานที่ใช้เท่านั้น แต่ควรคำนึงถึงการรับประกันคุณภาพ ความแข็งแรงคงทนของตัวเครน ตัวรถ สลิง อุปกรณ์และระบบความปลอดภัยในการใช้งาน และตัวแทนจำหน่ายเครนที่สามารถให้การบริการหลังการขาย และมีการจัดอบรมการใช้งานให้ด้วย ประเภท และขนาดของรถเครนที่ให้เลือกหลากหลายเพื่อเหมาะสมตามลักษณะงาน เช่น
All Terrain Crane: เป็นโมบายเครนที่ถูกออกแบบมาเพื่อเหมาะกับการใช้งานในทุกสภาวะการทำงานเหมาะกับการวิ่งบนถนน และพื้นที่ทำงานที่ขรุขระ โดยการออกแบบให้มีความสามารถในการขับเคลื่อนเหมาะกับทุกสภาพพื้นผิว และยังสามารถบังคับการเลี้ยวได้ทุกล้อ
Rough Terrain Crane: เป็นโมบายเครนไฮโดรริกเครนแบบขับเคลื่อนทุกล้อ เหมาะสมกับการทำงานในพื้นที่แคบ สามารถเคลื่อนย้ายใช้งานในพื้นที่ทำงานต่างๆ ได้อย่างสะดวก
Truck Crane: เป็นโมบายเครนที่ออกแบบประกอบติดตั้งกับตัวถังรถที่มีระบบการขับเคลื่อนแบบรถบรรทุกทั่วไป เหมาะสำหรับการขับเคลื่อนบนพื้นถนน แต่มีโครงสร้างของตัวรถที่ยาว และไม่สะดวกในการเคลื่อนย้ายในพื้นที่หน้างาน
Telescopic Boom Crawler Crane: เป็นโมบายเครนประเภทที่ติดตั้งอยู่บนช่วงล่างแบบตีนตะขาบ ทำให้โมบายเครนประเภทนี้มีความสามารถในการเคลื่อนย้ายขณะยก และมีความสะดวกในการปรับความยาวของแขนยกเหมาะสำหรับงานที่ต้องยกสินค้าหรือวัสดุ และต้องเคลื่อนย้ายตำแหน่งอยู่เป็นประจำ เช่น การใช้งานตอกเสาเข็ม เสาเข็มพืดเหล็ก (Sheet Pile) หรือแม้แต่งานอุโมงค์ใต้ดิน ซึ่งมีความสูงจำกัด โมบายเครนประเภทนี้สามารถเข้าไปทำงานได้อย่างเหมาะสมและใช้งานได้สะดวก
Cargos Crane: เป็นโมบายเครนติดบนหลังรถบรรทุกแบบแขนตรง และยึดหดด้วยระบบไฮโดรริกและลวดสลิง ซึ่งมีการออกแบบและผลิตรุ่นที่สามารถติดตั้งบนรถบรรทุกได้ทุกยี่ห้อ ทุกรุ่น และยังมีโมบายเครนรุ่นที่ออกแบบสำหรับติดตั้งบนเรืออีกด้วย